วันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2554
การปกครองในสมัยอยุธยา
สมัยอยุธยา พ.ศ.1893-2310
บริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยาในภาคกลางของประเทศไทย ปรากฏผู้คนตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนเป็นเมือง เป็นแคว้น และอาณาจักร มีความมั่นคงเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจและการค้าจน สามารถสร้างสรรค์ศิลปกรรมอันงดงาม
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (อู่ทอง) ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาในพ.ศ.1893 ความเหมาะสมคือ ทำเลที่ตั้งเมืองแม่น้ำล้อมรอบ 3 ด้าน ได้แก่ แม่น้ำลพบุรีด้านเหนือ แม่น้ำเจ้าพรยาทางด้านตะวันตกและใต้ ส่วนด้านตะวันออก ได้ขุดลำคูเชื่อมกับแม่น้ำ อยุธยาจึงกลายเป็นเกาะที่มีลำน้ำล้อมรอบครบทั้ง4 ด้าน นับเป็นชัยภูมิที่มั่งคงสามารถป้องกันข้าสึกได้เป็นอย่างดี กรุงศรีอยุธยาตั้งอยู่บริเวณที่ราบภาคกลาง ซึ่งลำน้ำสายต่างๆ จากภาคเหนือไหลผ่านไปลงทะเลอ่าวไทย จึงสามารถควบคุมเส้นทางคมนาคม การค้า ทางยุทธศาสตร์ จึงทำให้อยุธยาเป็นศูนย์กลางที่อาณาจักรไทย ยาวนานถึง 417 ปี
สถาบันพระมหากษัตริย์ในสมัยอยุธยา
อาณาจักรอยุธยาปกครองด้วยระบอบราชธิปไตยหรือสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ตลอดสมัยของอาณาจักรสุโขทัยมีกษัตริย์ปกครองรวม 33 พระองค์ลักษณะการใช้อำนาจของพระมหากษัตริย์คือต้องการรวมศูนย์อำนาจไว้ที่สถานบันพระมหากษัตริย์ จึงได้นำลัทธิสมมติเทพ ซึ่งเป็นหลักศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มาเสริมสร้างสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มีความศักดิ์สิทธิและมั่งคง และมีพระราชอำนาจส่งขึ้น
ในระยะแรกก่อตั้งอาณาจักร สถาบันพระมหากษัตริย์ของอยุธยาผูกพันกับคติความเชื่อทางพระพุทธศาสนาตามแบบที่เคยเป็นมา โดยเรียกผู้ปกครองว่ามหาสมมติราช หมายถึงผู้ได้รับมอบหมายจากคนทั้งปวงให้เป็นผู้ปกครองสังคม นอกจากนี้ยังเป็น พระจักรพรรดิราช หรือพระราชาผู้ยิ่งใหญ่เปรียบเสมือนเทพเจ้า เป็นองค์สมมติเทพ จึงต้องมีระเบียบประเพณีและพิธีการ ต่างๆ โดยมีพราหมณ์เป็นผู้ประกอบพิธีถวาย คำสั่งพระมหากษัตริย์เรียกว่าโองการ มีภาษาที่ใช้กับพระมหากษัตริย์เรียกว่า ราชาศัพท์ ที่อยู่ของพระมหากษัตริย์เรียกว่าพระราชวัง ผู้ใดที่ละเมิดจะถูกลงโทษ
การปกครองและการบริหารของสมัยอยุธยาจะแบ่งออกเป็นสามระยะคือ สมัยอยุธยาตอนต้น สมัยอยุธยากลาง และสมัยอยุธยาตอนปลาย
การเมืองการปกครองในสมัยอยุธยาตอนต้น (พ.ศ.1893-1991)
การปกครองส่วนกลาง
พระมหากษัตริย์ ปกครองแบบรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง คือจตุสดมภ์
จตุสดมภ์ แบ่งเป็น
กรมเวียง - มี ขุนเวียง เป็นผู้ดูแล มีหน้าที่ รักษาความสงบสุขของราษฏร
กรมวัง - มี ขุนวัง เป็นผู้ดูแล เป็นหัวหน้าฝ่าย ราชสำนักการพิจารณาพิพากษาคดี
กรมคลัง - มี ขุนคลัง เป็นผู้ดูแล มีหน้าที่รักษาผลประโยชน์ของแผ่นดินที่ได้จากการเก็บส่วยอากร
กรมนา - มี ขุนนา เป็นเจ้าหน้าที่ดูแลการทำไร่ นา และสะสมเสบียงอาหารของ พระนคร
การปกครองหัวเมือง
อยุธยาเป็นเมืองหลวง เป็นจุดของศูนย์รวมอำนาจการปกครอง ล้อมรอบด้วยเมืองลูกหลวง ประกอบด้วย ทิศเหนือ เมืองลพบุรี ทิศตะวันออก เมือง นครนายก ทิศใต้ เมือง นครเขื่อนขันธ์ และทิศตะวันตก เมือง สุพรรณบุรี
ถัดออกมาคือ หัวเมืองชั้นใน ได้แก่ สิงห์บุรี ปราจีนบุรี ชลบุรี และเพชรบุรี และเมืองประเทศราช เช่น เมือง นครศรีธรรมราชและเมืองพิษณุโลก
การเมืองการปกครองสมัยอยุธยาตอนกลาง
1991-2231
การปกครองเริ่มตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เป็นต้นมา หลังจากที่ได้ผนวกเอาอาณาจักรสุโขทัยมาเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยา โดยมีลักษณะสำคัญ 2 ประการคือ
1. จัดการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง
2. แยกกิจการฝ่ายพลเรือนกับฝ่ายทหารออกจากกัน
การปกครองส่วนกลาง
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ โปรดฯให้มีตำแหน่งสมุหกลาโหมรับผิดชอบด้านการทหาร นอกจากนี้ยังได้ทรงตั้งหน่วยงานเพิ่มขึ้นมา อีก 2 กรม คือ
กรมมหาดไทย มีพระยาจักรีศรีองครักษ์เป็นสมุหนายก มีฐานะเป็นอัครมหาเสนาบดี มีหน้าที่ควบคุมกิจการพลเรือนทั่วประเทศ
กรมกลาโหม มีพระยามหาเสนาเป็นสมุหพระกลาโหม มีฐานะเป็นอัครมหาเสนาบดี มีหน้าที่ควบคุมกิจการทหารทั่วประเทศ
นอกจากนี้ใน 4 กรมจตุสดมภ์ที่มีอยู่แล้ว ทรงให้มีการปรับปรุงเสียใหม่ โดยตั้งเสนาบดีขึ้นมาควบคุมและรับผิดชอบในแต่ละกรมคือ
กรมเมือง (เวียง มีพระนครบาลเป็นเสนาบดี
กรมวัง มีพระธรรมาธิกรณ์เป็นเสนาบดี
กรมคลัง มีพระโกษาธิบดีเป็นเสนาบดี
กรมนา มีพระเกษตราธิการเป็นเสนาบดี
การปกครองส่วนภูมิภาค
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงยกเลิกการปกครองแบบเดิมทั้งหมด แล้วจัดระบบใหม่ดังนี้
1. หัวเมืองชั้นใน ยกเลิกเมืองหน้าด่านแล้วเปลี่ยนเป็นเมืองชั้นใน มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ผู้ปกครองเมืองเหล่านี้เรียกว่า ผู้รั้ง พระมหากษัตริย์จะเป็นผู้แต่งตั้งขุนนางในกรุงศรีอยุธยา ทำหน้าที่ผู้รั้งเมือง ต้องรับคำสั่งจากในราชธานีไปปฏิบัติเท่านั้นไม่มีอำนาจในการปกครองโดยตรง
2.หัวเมืองชั้นนอก (เมืองพระยามหานคร) เป็นหัวเมืองที่อยู่ภายนอกราชธานีออกไป จัดเป็นหัวเมืองชั้นตรี โท เอก ตามขนาดและความสำคัญของหัวเมืองนั้น เมืองเหล่านี้มีฐานะเดียวกันกับหัวเมืองชั้นใน คือขึ้นอยู่ในการปกครองจากราชธานีเท่านั้น
3. หัวเมืองประเทศราช ยังให้มีการปกครองเหมือนเดิม มีแบบแผนขนบธรรมเนียมเป็นของตนเอง มีเจ้าเมืองเป็นคนในท้องถิ่นนั้น ส่วนกลางจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวในด้านการปกครอง แต่ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวาย
การปกครองส่วนท้องถิ่น แบ่งการปกครองเป็นหน่วยย่อย โดยแบ่งเป็น
1. บ้าน หรือหมู่บ้าน มีผู้ใหญ่บ้าน มีผู้ว่าราชการเมืองเป็นหัวหน้า จากการเลือกตั้งจากหลายบ้าน
2. ตำบล เกิดจากหลายๆ หมู่บ้านรวมกันมีกำนันเป็นหัวหน้ามีบรรดาศักดิ์เป็น พัน
3. แขวง เกิดจากหลายๆ ตำบลรวมกัน มีหมื่นแขวงเป็นผู้ปกครอง
4. เมือง เกิดจากหลายๆ แขวงรวมกัน มีผู้รั้งหรือพระยามหานครเป็นผู้ปกครอง
ต่อมาในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ได้มีการปรับปรุงระเบียบการปกครองทางด้านการทหาร ได้แก่
1. การจัดทำสารบัญชี (หรือสารบาญชี) เพื่อให้ทราบว่ามีกำลังไพร่พลมากน้อยเพียงใด
2. สร้างตำราพิชัยสงคราม ซึ่งเป็นตำราที่ว่าด้วยการจัดทัพ การเดินทัพ การตั้งค่าย การจู่โจมและการตั้งรับ ส่วนหนึ่งของตำราได้มาจากทหารอาสาชาวโปรตุเกส
3. การทำพิธีทุกหัวเมือง ซักซ้อมความพร้อมเพรียงเพื่อสำรวจจำนวนไพร่พล (คล้ายกับพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณต่อธงชัยเฉลิมพลในปัจจุบัน)
การเมืองการปกครองสมัยอยุธยาตอนปลาย
พ.ศ.1991 - พ.ศ.2310 การปกครองสมัยอยุธยาตอนปลาย คือ ตั้งแต่ พ.ศ.1991 ในสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ถึงเสียกรุงศรีอยุธยา พ.ศ.2310 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ครองราชย์ พระองค์ได้ปฏิรูปการปกครองเสียใหม่
สาเหตุของการปรับปรุงการปกครอง สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
เมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ.1981-2031 ทรงปรับปรุงการปกครองครั้งใหญ่ เนื่องจาก 1. อาณาเขต ของกรุงศรีอยุธยากว้างขวางมากขึ้น เพราะในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) ไทยตีนครธมราชธานีของเขมรได้ใน พ.ศ.1974 และได้รวมอาณาจักรสุโขทัยเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยา เมื่อ พ.ศ.1981 ทำให้อาณาเขตของกรุงศรีอยุธยากว้างขวางมากขึ้นเมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเสด็จขึ้นครองราชย์ ใน พ.ศ.1991 ทรงเห็นว่าการปกครองแบบเก่ายังไม่รัดกุมเพียงพอ เพราะผู้ครองนครเมืองต่าง ๆ มีอำนาจสิทธิ์ขาดมากเกินไป และเบียดบังรายได้จากภาษีอากร ทำให้ราชธานีได้รับผลประโยชน์ไม่เต็มที่ 2. เมืองลูกหลวง ก่อปัญหาให้อยุธยามาตลอด เนื่องจากเจ้าเมืองเหล่านี้เป็นเจ้านายชั้นสูงได้รวมกำลังกันยกกำลังทหารเข้ามาแย่งชิงราชสมบัติอยู่เสมอ 3. พราหมณ์และขุนนางจากราชสำนักเขมร ได้นำเอาวัฒนธรรมเข้ามาเผยแพร่ เนื่องจากในรัชสมัยก่อน ๆ เบื่อยกทัพไปตีเขมร
เมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ.1981-2031 ทรงปรับปรุงการปกครองครั้งใหญ่ เนื่องจาก 1. อาณาเขต ของกรุงศรีอยุธยากว้างขวางมากขึ้น เพราะในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) ไทยตีนครธมราชธานีของเขมรได้ใน พ.ศ.1974 และได้รวมอาณาจักรสุโขทัยเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยา เมื่อ พ.ศ.1981 ทำให้อาณาเขตของกรุงศรีอยุธยากว้างขวางมากขึ้นเมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเสด็จขึ้นครองราชย์ ใน พ.ศ.1991 ทรงเห็นว่าการปกครองแบบเก่ายังไม่รัดกุมเพียงพอ เพราะผู้ครองนครเมืองต่าง ๆ มีอำนาจสิทธิ์ขาดมากเกินไป และเบียดบังรายได้จากภาษีอากร ทำให้ราชธานีได้รับผลประโยชน์ไม่เต็มที่ 2. เมืองลูกหลวง ก่อปัญหาให้อยุธยามาตลอด เนื่องจากเจ้าเมืองเหล่านี้เป็นเจ้านายชั้นสูงได้รวมกำลังกันยกกำลังทหารเข้ามาแย่งชิงราชสมบัติอยู่เสมอ 3. พราหมณ์และขุนนางจากราชสำนักเขมร ได้นำเอาวัฒนธรรมเข้ามาเผยแพร่ เนื่องจากในรัชสมัยก่อน ๆ เบื่อยกทัพไปตีเขมร
การปกครองส่วนกลาง
1. ฝ่ายทหาร มีสมุหกลาโหม เป็นผู้บังคับบัญชา ตำแหน่งเทียบเท่าอัครมหาเสนาบดี มีบรรดาศักดิ์เป็นพระยามหาเสนาบดี ทำหน้าที่ควบคุมดูแลเกี่ยวกับราชการทหารและการป้องกันประเทศ
2. ฝ่ายพลเรือน มีสมุหนายกเป็นหัวหน้า ทำหน้าที่ควบคุมดูแลเกี่ยวกับงานราชการพลเรือนทั่วๆ ไป มีบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์ มีเสนาบดีจตุสดมภ์เป็นเจ้ากระทรวง ตำแหน่งรองลงมาจากสมุหนายก ทำหน้าที่เช่นเดียวกับที่เคยปฏิบัติมา เพียงแต่เปลี่ยนชื่อเรียกใหม่ดังนี้
กรมเมือง เปลี่ยนเป็น นครบาล
กรมวัง เปลี่ยนเป็น ธรรมาธิกรณ์
กรมคลัง เปลี่ยนเป็น โกษาธิบดี
กรมนา เปลี่ยนเป็น เกษตราธิการ
2. ฝ่ายพลเรือน มีสมุหนายกเป็นหัวหน้า ทำหน้าที่ควบคุมดูแลเกี่ยวกับงานราชการพลเรือนทั่วๆ ไป มีบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์ มีเสนาบดีจตุสดมภ์เป็นเจ้ากระทรวง ตำแหน่งรองลงมาจากสมุหนายก ทำหน้าที่เช่นเดียวกับที่เคยปฏิบัติมา เพียงแต่เปลี่ยนชื่อเรียกใหม่ดังนี้
กรมเมือง เปลี่ยนเป็น นครบาล
กรมวัง เปลี่ยนเป็น ธรรมาธิกรณ์
กรมคลัง เปลี่ยนเป็น โกษาธิบดี
กรมนา เปลี่ยนเป็น เกษตราธิการ
ในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ ได้มีการตรากฎหมายว่าด้วยศักดินาขึ้น และใช้มาจนถึงยุคกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ศักดินา คือ วิธีให้เกียรติยศบุคคลตั้งแต่ขุนนาง ข้าราชการ ลงไปจนถึงไพร่และทาส โดยกำหนดจำนวนที่นามากน้อยตามศักดิ์หรือเกียรติยศของบุคคล เช่น
ชั้นเจ้าพระยามีศักดินา 10,000 ไร่
คนธรรมดาสามัญมีศักดินา 25 ไร่
ทาสมีศักดินา 5 ไร่
การกำหนดระบบศักดินาขึ้นมาก็เพื่อประโยชน์ในการกำหนดสิทธิ และหน้าที่ของประชาชน นอกจากนี้ ระบบศักดินายังเกี่ยวพันกับการชำระโทษ และปรับไหมในกรณีกระทำผิดอีกด้วย คนที่ถือศักดินาสูง เมื่อทำผิดจะถูกลงโทษหนักกว่าผู้มีศักดินาต่ำ การปรับในศาลหลวง ค่าปรับนั้นก็เอาศักดินาเป็นบรรทัดฐาน การปกครองหัวเมือง
พระบรมไตรโลกนาถพยายามจัดการปกครองหัวเมืองเสียใหม่ เพื่อให้ส่วนกลางสามารถคุมหัวเมืองทั้งหลายได้ แต่ก็ปรากฏว่าไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร เพราะการคมนาคมไม่สะดวก คงทำได้สำเร็จเฉพาะหัวเมืองใกล้เคียงหรือหัวเมืองรอบ ๆ เมืองหลวงเท่านั้น หัวเมืองในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ นอกจากเมืองพระยามหานครที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งขุนนางไปปกครองแล้ว ยังมีหัวเมืองประเทศราช ที่มีเจ้าเมืองของตนเอง แต่ยอมขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยา โดยส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายทุกปี หัวเมืองประเทศราชเหล่านี้ มีทั้งใกล้และไกล เช่น เชียงใหม่ เชียงแสน เชียงรุ้ง ยะโฮร์ มะละกา เป็นต้น ต่อมา ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้ปฏิรูปการปกครองหัวเมืองใหม่ โดยยกเลิกเมืองพระยามหานคร และจัดแบ่งเมืองนอกเขตราชธานีออกเป็น 3 ชั้น คือ 1. หัวเมืองชั้นเอก มี เมือง คือ พิษณุโลกและนครศรีธรรมราช 2. หัวเมืองชั้นใน มีหลายเมือง เช่น สวรรคโลก สุโขทัย กำแพงเพชร เพชรบุรี เป็นต้น 3. หัวเมืองชั้นตรี เช่น พิชัย นครสวรรค์ ไชยา พัทลุง เป็นต้น หัวเมืองแต่ละชั้นยังมีเมืองย่อยอยู่โดยรอบ เรียกเมืองเหล่านี้ว่า เมืองจัตวา การจัดการปกครองหัวเมืองแบบนี้มีมาโดยตลอด และได้ยกเลิกไปในสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
พระบรมไตรโลกนาถพยายามจัดการปกครองหัวเมืองเสียใหม่ เพื่อให้ส่วนกลางสามารถคุมหัวเมืองทั้งหลายได้ แต่ก็ปรากฏว่าไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร เพราะการคมนาคมไม่สะดวก คงทำได้สำเร็จเฉพาะหัวเมืองใกล้เคียงหรือหัวเมืองรอบ ๆ เมืองหลวงเท่านั้น หัวเมืองในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ นอกจากเมืองพระยามหานครที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งขุนนางไปปกครองแล้ว ยังมีหัวเมืองประเทศราช ที่มีเจ้าเมืองของตนเอง แต่ยอมขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยา โดยส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายทุกปี หัวเมืองประเทศราชเหล่านี้ มีทั้งใกล้และไกล เช่น เชียงใหม่ เชียงแสน เชียงรุ้ง ยะโฮร์ มะละกา เป็นต้น ต่อมา ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้ปฏิรูปการปกครองหัวเมืองใหม่ โดยยกเลิกเมืองพระยามหานคร และจัดแบ่งเมืองนอกเขตราชธานีออกเป็น 3 ชั้น คือ 1. หัวเมืองชั้นเอก มี เมือง คือ พิษณุโลกและนครศรีธรรมราช 2. หัวเมืองชั้นใน มีหลายเมือง เช่น สวรรคโลก สุโขทัย กำแพงเพชร เพชรบุรี เป็นต้น 3. หัวเมืองชั้นตรี เช่น พิชัย นครสวรรค์ ไชยา พัทลุง เป็นต้น หัวเมืองแต่ละชั้นยังมีเมืองย่อยอยู่โดยรอบ เรียกเมืองเหล่านี้ว่า เมืองจัตวา การจัดการปกครองหัวเมืองแบบนี้มีมาโดยตลอด และได้ยกเลิกไปในสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ในสมัยพระเพทราชา ทรงสลับสับเปลี่ยนหน้าที่อัครมหาเสนาบดี ดังนี้
1. สมุหนายก - ควบคุมหัวเมืองด้านเหนือ
2. สมุหกลาโหม - ควบคุมหัวเมืองด้านใต้
3. พระยาโกษาธิบดี เสนาบดีกรมท่า - ควบคุมหัวเมืองด้านตะวันออก
การเมืองการปกครองสมัยสุโขทัย
การเมืองการปกครองสมัยสุโขทัย
อาณาจักรสุโขทัยเมื่อแรกตั้งยังมีอาณาเขตไม่กว้างขวาง มีจำนวนพลเมืองยังไม่มากและอยู่ในระหว่างการก่อร่าง
สร้างตัว การปกครองในระยะแรกจึงยังเป็นการปกครองระบบแบบครอบครัว ผู้นำของอาณาจักรทำตัวเหมือนบิดาของประชาชน มีฐานะเป็นพ่อขุน มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประชาชน ต่อมาหลังสมัยพ่อขุนรามคำแหงสถานการณ์ของบ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไป จึงเริ่มใช้การปกครองที่เป็นแบบแผนมากขึ้น ความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำกับประชาชนแตกต่างไปจากเดิม ความพยายามที่จะเพิ่มพูนอำนาจของกษัตริย์ให้สูงทรงมีฐานะเป็นธรรมราชา และทรงใช้หลักธรรมมาเป็นแนวทางในการปกครอง
ลักษณะการปกครองในสมัยสุโขทัย
การปกครองในสมัยสุโขทัยแบ่งเป็น 2 ระยะคือ
1. สมัยสุโขทัยตอนต้น เริ่มตั้งแต่สมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ไปถึงสิ้นสมัยของพ่อขุนรามคำแหง
2. สมัยสุโขทัยตอนปลายตั้งแต่สมัยพระยาเลอไทยไปถึงสมัยสุโขทัยหมดอำนาจ
การปกครองสมัยสุโขทัยตอนต้น ( พ.ศ. 1792 -1841 )
หลังจากที่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ได้สถาปนาอาณาจักรสุโขทัยขึ้นมาแล้วได้พยายามขจัดอิทธิพลของขอมให้หมดไปจึงได้จัดระบบการปกครองใหม่เป็นการปกครองแบบไทย ๆที่ถือว่าประชาชนทุกคนเป็นคนในครอบครัวเดียวกัน โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นหัวหน้าครอบครัว คือ พระมหากษัตริย์ได้ปกครองประชาชนในฐานะบิดาปกครองบุตร หรือที่เรียกว่าการปกครองแบบปิตุราชาธิปไตย ซึ่งมีลักษณะที่สำคัญดังต่อไปนี้คือ
1. รูปแบบการปกครองเป็นแบบราชาธิปไตย คือพระมหากษัตริย์ทรงมีฐานะเป็นผู้ปกครองสูงสุด ทรงเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตย
2. พระมหากษัตริย์มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประชาชนเปรียบเสมือนบิดากับบุคร ทำตัวเปรียบเสมือนหัวหน้าครอบครัว พระมหากษัตริย์ในสมัยสุโขทัยตอนต้นจึงมีพระนามนำหน้าว่า พ่อขุน
3. ลักษณะการปกครองระบบครอบครัวลดหลั่นกันเป็นชั้น ๆ นอกจากพระมหากษัตริย์ทำตัวเปรียบเสมือนบิดาของราษฎรแล้ว ยังมีการจัดระบบการปกครอง ดังนี้
- ให้ครัวเรือนหลายครัวเรือนรวมตัวกันเป็น บ้าน อยู่ในความดูแลของ พ่อบ้าน ผู้อยู่ภายใต้การปกครองเรียกว่า ลูกบ้าน
- หลายบ้านรวมกัน เป็น เมือง ผู้ปกครองเรียกว่า ขุน
- เมืองหลายเมืองรวมกันเป็น อาณาจักร อยู่ในการปกครองของ พ่อขุน
แสดงให้เห็นว่านอกจากพ่อขุนผู้เป็นประมุขสูงสุดแล้ว ยังมีผู้ปกครองที่ได้รับมอบหมายจากพ่อขุน
ทำหน้าที่เป็นกลไกในการปกครองด้วย
4. พระมหากษัตริย์ทรงยึดหลักธรรมทางศาสนาในการบริหารบ้านเมือง และทรงชักชวนให้ประชาชนปฏิบัติธรรม
เพื่อที่จะสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข
นอกจากนี้ในสมัยสุโขทัยตอนต้นยังมีการปกครองแบบทหารแอบแฝงอยู่ด้วยเนื่องจากในระยะแรกตั้งสุโขทัยมี
อาณาเขตแคบ ๆ ประชาชนยังมีน้อยดังนั้นทุดคนจึงต้องมีหน้าที่ในการป้องกันประเทศเท่าๆกันจึงกำหนดว่า
วลาบ้านเมืองปกติประชาชนต่างทำมาหากินแต่เวลาเกิดศึกสงคราม ชายฉกรรจ์ทุกคนต้องเป็นทหาร โดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นจอมทัพ
การปกครองในสมัยสุโขทัยตอนปลาย (พ.ศ. 1841-1981 )
หลังจากที่พ่อชันรามคำแหงสวรรคตในพ.ศ. 1841แล้วอาณาจักรสุโขทัยเริ่มระส่ำระสายพระมหากษัตริย์รัชกาลต่อมาเริ่มอ่อนแอ ไม่สามารถรักษาความมั่นคลของอาณาจักรไว้ได้ เมืองหลายเมืองแยกตัวออกไปเป็นอิสระ
สภาพการเมืองภายในเกิดปัญหาการสืบราชสมบัติ รูปแบบการปกครองแบบบิดาปกครองบุตรเริ่มเสื่อมสลายลง เนื่องจากสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่มั่นคงเพียงพอ จนกระทั่งสมัยพระยาลิไทย ซึ่งขณะนั้นปกครองอยู่ที่เมือง
ศรีสัชนาลัยได้ยกกำลังเข้ายึดเมืองสุโขทัยและปราบศัตรูจนราบคาบบ้านเมืองจึงสงบลง
เมื่อพระมหาธรรมราชาที่ 1 ( ลิไทย ) ขึ้นครองราชย์สมบัติในปี 1890 ทรงตระหนักถึงความไม่มั่นคงภายใน ประกอบกับเวลานั้นกรุงศรีอยุธยาที่ตั้งขึ้นมาใหม่กำลังแผ่ขยายอำนาจจนน่ากลัวจะเกิดอันตรายกับสุโขทัย
พระมหาธรรมราชาที่ 1 ( ลิไทย ) ทรงเห็นว่าการแก้ปัญหาทางการเมืองด้วยการใช้อำนาจทางทหารอย่างเดียวนั้นไม่สามารถทำได้ เพราะอำนาจทางการทหารในสมัยของพระองค์นั้นไม่เข้มแข็งพอ จึงทรงดำเนินพระราชกุศโลบาย โดยทรงทำนุบำรุงส่งเสริมพระพุทธศาสนา ทรงเป็นผู้ปฏิบัติธรรมเป็นตัวอย่าง และได้ทรงสร้างถาวรวัตถุทางพระพุทธศาสนาไว้ทั่วไปเพื่อเป็นที่เคารพบูชาของประชาชนให้เกิดเลื่อมใสศรัทธายึดหลักธรรมของพระพุทธศาสนาเป็นหลักในการดำเนินชีวิต สร้างความสามัคคีกลมเกลียวกันในแผ่นดิน
การปกครองที่อาศัยพระพุทธศาสนานี้เรียกว่าการปกครองแบบธรรมราชา พระมหากษัตริย์จะทรงตั้งมั่นอยู่ในทศพิธราชธรรม การปกครองแบบธรรมราชานี้ถูกนำมาใช้จนประทั่งสิ้นสุดสมัยสุโขทัย
การปกครองแบบกระจายอำนาจ
เนื่องจากในสมัยพ่อขุนรามคำแหงอาณาจักรสุโขทัยมีอาณาเขตกว้างขวางมากที่สุด จึงจำเป็นต้องมีการปกครองแบบกระจายอำนาจโดยแบ่งหัวเมืองออกเป็น ชั้น ๆเพื่อกระจายอำนาจในการปกครองออกไปให้ทั่วถึง
เมืองต่าง ๆในสมัยสุโขทัยแบ่งออกเป็น 4 ชั้น แต่ละชั้นพระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจในการปกครองดังนี้
1. เมืองหลวง หรือเมืองราชธานี อาณาจักรสุโขทัยมีเมืองสุโขทัยเป็นราชธานี เมืองหลวงหรือเมืองราชธานีมีพระมหากษัตริย์ปกครองเอง เมืองราชธานี เป็นศูนย์กลางทางการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม ศาสนาวัฒนธรรมประเพณ๊
2 เมืองลูกหลวง หรือเมืองหน้าด่าน เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าหัวเมืองชั้นใน ตั้งอยู่รายรอบราชธานีทั้ง 4 ทิศ ห่างจากเมืองหลวงมีระยะทางเดินเท้า 2 วัน เมืองลูกหลวงมีดังนี้
ทิศเหนือ ได้แก่ เมืองศรีสัชนาลัย
ทิศตะวันออก ได้แก่ เมืองสองแคว ( พิษณุโลก )
ทิศใต้ ได้แก่ เมืองสระหลวง ( เมืองพิจิตรเก่า )
ทิศตะวันตก ได้แก่ เมืองนครชุม ( กำแพงเพชร )
เมืองลูกหลวงมีความสำคัญรองมาจากเมืองหลวง ผู้ที่ถูกส่งไปปกครองคือเจ้านายเชื้อพระวงษ์
3. เมืองพระยามหานคร เป็นหัวเมืองชั้นนอก ห่างจากเมืองราชธานีออกไปมากกว่าเมืองลูกหลวง พระมหากษัตริย์จะทรงแต่งตั้งขุนนางชั้นผู้ใหญ่หรือผู้ที่เหมาะสมและมีความสามารถไปปกครองดูแลเมืองเหล่านี้โดยขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์ มีวิธีการปกครองเช่นเดียวกับหัวเมืองชั้นใน เมืองพระยามหานครในสมัยสุโขทัย เช่น เ มืองพระบาง (นครสวรรค์ ) เมืองเชียงทอง ( อยู่ในเขตจังหวัดตาก )เมืองบางพาน ( อยู่ในเขตจังหวัดกำแพงเพชร ) เป็นต้น
4. เมืองประเทศราช ได้แก่เมืองที่อยู่นอกอาณาจักร ชาวเมืองเป็นชาวต่างชาติต่างภาษาพระมหากษัตริย์ทรงดำเนินนโยบายในการปกครองคือให้เจ้านายพื้นเมืองเดิมเป็นเจ้าเมืองปกครองกันอง โดยไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการปกครองภายใน ยกเว้นกรณีที่จำเป็นเท่านั้น ยามปกติเมืองประเทศราชต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายพระมหากษัตริย์สุโขทัยทุก 3 ปี ยามสงครามต้องส่งกองทัพและเสบียงอาหารมาช่วย สมัยพ่อขุนรามคำแหงมีเมืองประเทศราชหลายเมืองดังต่อไปนี้คือ
ทิศเหนือ ได้แก่ เมืองแพร่ เมืองน่าน
ทิศตะวันตก ได้แก่ เมืองทะวาย เมืองเมาะตะมะ เมืองหงสาวดี
ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ เมืองเซ่า ( หลวงพระบาง ) เมืองเวียงจันทน์
ทิศใต้ ได้แก่ เมืองนครศรีธรรมราช เมืองมะละกา เมืองยะโฮร์